10 ข้อควรรู้เมื่อคุณตรวจรับบ้านและคอนโดฯใหม่ก่อนโอน

Akharapon T. Akharapon T.
Piso en Palermo · Paula Herrero | Arquitectura, Paula Herrero | Arquitectura Paula Herrero | Arquitectura Modern kitchen
Loading admin actions …

หลายต่อหลายคนเมื่อถึงคราวที่จะย้ายเข้าไปยังบ้านหรือห้องชุดคอนโดมิเนียมใหม่ ไม่ว่าจะด้วยความรีบร้อนหรือความดีใจที่มักจะทำให้หลงลืมที่จะตรวจตราตรวจสอบลักษณะสภาพของบ้านและห้องชุดนั้นๆว่ามีลักษณะที่ดีพร้อมสำหรับการใช้งานและการอยู่อาศัยหรือไม่ ซึ่งมีหลายกรณีที่มักเกิดปัญหาตามมาทีหลังซึ่งต้องแก้ไขกันอย่างชุลมุนวุ่นวาย ดังนั้นไม่ว่าคุณกำลังจะเป็นเจ้าของบ้านหรือห้องชุดใหม่ที่ไหนก็ตาม กฏสำคัญก่อนที่คุณจะเซ็นชื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ต่างๆคือถ้าบ้านหรือห้องชุดนั้นไม่พร้อมต่อการอยู่อาศัยนั้น ห้ามเซ็นรับเด็ดขาด! เพราะมิเช่นนั้นแล้วหากเกิดปัญหาใดๆตามมา ผลก็คือคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งสิ้น 

Homify ใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่มาของเรื่องราวที่จะนำเสนอคุณผู้อ่านซึ่งพึงทราบและจำไว้ให้มั่นก่อนการเซ็นรับโอนบ้านหรือห้องชุดพักอาศัยใดๆก็ตาม โดยสรุปเป็น 10 ข้อควรรู้เมื่อคุณตรวจรับบ้านหรือคอนโดฯใหม่ก่อนโอน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ของคุณผู้อ่านทุกคนเพื่อการอยู่อาศัยอย่างมีความสุข โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นตรวจสอบลักษณะของที่อยู่อาศัยในประเด็นใดบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1. พื้นที่ภายนอกโดยรอบหรือพื้นที่ส่วนกลาง

พื้นที่ภายนอกโดยรอบบ้านไม่ว่าจะเป็นสวน ลานจอดรถ รั้วรอบอาณาเขตบริเวณและทางเดินต่างๆ หรือในกรณีของคอนโดมิเนียมนั้นคือพื้นที่ส่วนกลางได้แก่ ที่จอดรถ สวน สระว่ายน้ำ ฟิตเนส เป็นต้น เหล่านี้ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่นอกอาณาเขตของห้องพักที่เราตัดสินใจซื้อนั้น ก่อนอื่นคุณควรสำรวจให้ทั่วๆว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถเข้าถึงใช้งานได้สะดวกหรือไม่ หรือมีลักษณะที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ได้มีการชำรุดบกพร่อง เป็นต้น

2. โครงสร้างและแบบแปลน

ในกรณีนี้หากคุณไม่ได้เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการอ่านแบบแปลนหรือแบบโครงสร้าง อย่างน้อยๆคุณควรรู้ว่าตำแหน่งของพื้นที่ต่างๆภายในบ้านหรือห้องของคุณนั้นตรงตามที่ได้เสนอมาจากสถาปนิกภายใน จากผู้รับเหมาหรือจากสำนักงานขาย ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสำรวจด้วยตนเองว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่ อย่างเช่นในกรณีของตำแหน่งเสาซึ่งจะมีผลต่อการคิดคำนวณพื้นที่ห้อง ซึ่งคุณเองก็สามารถตรวจสอบขนาดพื้นที่เองได้โดยง่ายจากแบบแปลนบ้านหรือคอนโดมิเนียมโดยตรง

3. พื้นที่ต่อเนื่องกับส่วนอื่นๆ

พื้นที่ต่อเนื่องกับส่วนอื่นๆหมายถึงในกรณีของห้องคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นพื้นที่ที่เชื่อมกับส่วนอื่นๆของอาคารห้องชุด สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1. ห้องที่อยู่ชั้นบน สิ่งที่ควรตรวจสอบคือการรั่วซึมจากหลังคา 2. ห้องที่อยู่ชั้นล่างควรตรวจสอบความชื้นจากดิน และ 3. ห้องที่อยู่ระหว่างชั้น ควรตรวจสอบที่ห้องน้ำซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับห้องน้ำของห้องชุดชั้นอื่น ทางที่ดีคือควรตรวจสอบห้องน้ำของห้องชั้นบนเหนือห้องของเราด้วยว่ามีการรั่วซึมของน้ำลงมาที่ห้องน้ำของเราหรือไม่

4. งานปูพื้น

สิ่งที่ควรตรวจสอบในประเด็นของงานปูพื้นในพื้นที่ต่างๆของบ้านเรานั้นจะเป็นเรื่องของระดับพื้นที่ควรเรียบสม่ำเสมอกันทั่วทั้งห้อง ทั้งนี้เพราะพื้นเป็นส่วนที่เราจะสัมผัสโดยตรงมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วกับพื้นห้องน้ำซึ่งมีการปูกระเบื้องนั้นปูนยาแนวต้องประสานสนิทและปูเต็มแผ่นกระเบื้อง ซึ่งทดสอบได้ง่ายๆโดยการใช้เหรียญเคาะเสียงต้องเต็มไม่กร๊องแกร๊ง เป็นต้น  หรือพื้นไม้ลามิเนตซึ่งผิวต้องเรียบเท่ากันทุกจุดและต้องสังเกตความเรียบร้อยของรอยต่อ เป็นต้น

5. ผนังของห้องแต่ละห้อง

ในส่วนของผนังนั้นสิ่งที่เราต้องตรวจสอบคือลักษณะความดิ่งและความฉากซึ่งต้องไม่เอียงโดยเด็ดขาด การฉาบและความเรียบของสี รวมไปถึงความสม่ำเสมอของผิวผนังต้องเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน และที่สำคัญคือเรื่องของรอยร้าว ซึ่งหากพบข้อผิดพลาดก็ควรรีบแจ้งช่างให้ทำการแก้ไขโดยด่วน

6. ฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานเป็นส่วนที่หลายคนมักจะมองข้ามเพราะเป็นส่วนที่อยู่เหนือจากสายตาเราขึ้นไปเราก็มักจะลืมที่จะให้ความสนใจ โดยส่วนนี้จะมีสิง่ที่เราต้องตรวจสอบคือเรื่องความสม่ำเสมอของผิวว่ามีการติดตั้งเรียบเนียนหรือไม่ ส่วนตะเข็บรอยต่อต้องแน่นหนาปิดสนิท รวมถึงตำแหน่งของดวงโคมว่าถูกต้องตรงตามแบบที่ได้กำหนดไว้ และรอยต่อของดวงโคมกับตัวฝ้าต้องเรียบสนิท เป็นต้น

7. ช่องเปิดของบ้าน

Schöner Wohnen mit cero - dem Innenaußen, cero cero Industrial style balcony, veranda & terrace Glass

ช่องเปิดของบ้านได้แก่ส่วนของประตู หน้าต่างและช่องระบายอากาศต่างๆ โดยมีส่วนที่ต้องตรวจสอบได้แก่การติดตั้งว่าติดตั้งเรียบร้อยดีหรือไม่ ได้ดิ่ง-ฉากตรงกับผนัง และควรที่ลองเปิด-ปิด เลื่อนหรือใช้งานดูว่าสามารถใช้งานได้คล่องและสะดวกหรือไม่ แม้แต่ลักษณะความใสของกระจกก็ควรให้ความสนใจ นอกจากนี้ยังมีส่วนของช่องตาแมวของประตูก็เป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเราเอง ควรลองส่องดูว่าสามารถมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ หรือถ้าส่องจากด้านนอกก็ไม่ควรที่ส่องเข้ามาแล้วจะเห็นด้านใน เป็นต้น

8. ระบบไฟฟ้าและสายสัญญาณต่างๆ

สิ่งที่ควรตรวจสอบคือการติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่มิเตอร์ไฟฟ้าที่อยู่นอกห้องชุดหรือนอกบ้าน สายไฟฟ้าหลักที่เชื่อมเข้าสู่ตัวบ้าน แผงไฟฟ้าหลักที่อยู่ภายในห้องควรตรวจสอบการเปิด-ตัดกระแสไฟฟ้า ไปจนถึงส่วนของ output ได้แก่ปลั๊กไฟและสวิตช์ไฟนั้นสามารถใช้งานได้(ใช้ไขควงวัดไฟ) ตำแหน่งดวงโคม นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสายสัญญาณต่างๆทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ ที่ต้องตรวจสอบว่าสามารถใช้งานได้

และที่ลืมไม่ได้เลยคือส่วนของเครื่องตรวจจับควันไฟ สัญญาณเตือน และหัวฉีดน้ำ ซึ่งต้องตรวจสอบว่ามีติดตั้งไว้ครบถ้วนตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือไม่

9. งานระบบสุขาภิบาล

งานระบบสุขาภิบาลคือระบบของท่อน้ำต่างๆ ทั้งท่อน้ำดีและท่อน้ำเสีย ได้แก่ ท่อประปา ท่อน้ำทิ้ง ท่อส้วม ท่อน้ำฝน บ่อพักและบ่อบำบัดเป็นต้น  โดยสิ่งที่เราสามารถตรวจสอบได้นั้นคือการใช้งานของท่อและหัวจ่ายก๊อกน้ำแต่ละจุด โดยให้เปิดก๊อกน้ำให้หมดทุกจุด และดูที่มิเตอร์น้ำว่ามีการหมุนเร็วมากน้อยอย่างไร และเมื่อปิดก๊อกน้ำทั้งหมดต้องไม่มีน้ำหยดและมิเตอร์วัดน้ำเองก็ต้องหยุดเช่นกัน (ถ้าไม่หยุดแปลว่ามีท่อใดท่อหนึ่งรั่ว) รวมถึงดูลักษณะการระบายของน้ำที่ขัง ทั้งบนพื้นห้องและในอ่างล้างต่างๆ ควรไหลระบายอย่างสะดวกไม่ชะงักหรือเจิ่งนอง เป็นต้น

10. เคาน์เตอร์ครัวและเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน

ข้อสุดท้ายที่เราควรรู้คือการตรวจสอบสภาพพื้นที่และการใช้งานบริเวณเคาน์เตอร์ครัว ซึ่งเป็นส่วนที่จะมีการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งการตระเตรียมประกอบอาหารและการซักล้าง ดังนั้นส่วนของพื้นที่นี้ต้องมีสภาพที่สมบูณ์พร้อมสำหรับการใช้งาน โดยเริ่มตั้งแต่ความเรียบร้อยของชิ้นงาน ท็อปเคาน์เตอร์ต้องเรียบเนียนและแข็งแรง ประตูเปิดปิดชั้นวางต้องปิดสนิท ชั้นวางของเหนือหัวสามารถรับน้ำหนักได้ดี วัสดุอุปกรณ์ต่างๆต้องตรงตามที่กำหนดในแบบ รวมถึงส่วนของเตาแก็สและที่ดูดควันที่ต้องเปิดปิดใช้งานได้ดี อ่างล้างมือและท่อน้ำต้องไม่รั่วซึมหรืออุดตัน ส่วนใต้เคาน์เตอร์ต้องไม่มีน้ำรั่วซึม เป็นต้น 

Need help with your home project?
Get in touch!

Highlights from our magazine